วันศุกร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2554

เอกสารประกอบการเรียนวิชา ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม...(การบ้านวันอังคาร ที่ 6 กันยายน พ.ศ.2554)

 เอกสารประกอบการเรียนวิชา ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต  นักชีววิทยาคาดการณ์ว่าโลกเรานี้มีสิ่งมีชีวิตจำนวนมากมายหลายล้านชนิด  แต่ที่ได้ศึกษากันตามหลักวิทยาศาสตร์มีอยู่เพียงประมาณ 2 ล้านชนิดเท่านั้น  และในจำนวนสิ่งมีชีวิตที่รู้จักกันแล้วนี้มีอยู่เพียงน้อยนิดเท่านั้น (ไม่ถึง  0.01%)  ที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษา และตรวจสอบถึงศักยภาพและคุณค่าที่อาจเป็นประโยชน์ต่อกิจกรรมต่าง ๆ  ของมนุษย์  ทั้งโดยทางตรงทางอ้อม  ข้อเท็จจริงดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เอาใจใส่ และด้วยในความรู้ของเราเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมโลกกับเรา เราอาจกล่าวอย่างมั่นใจได้ว่ายังมีสิ่งมีชีวิตอีกมากมายที่รอคอยการศึกษาจากนักวิชาการ  โดยเฉพาะสิ่งมีชีวิตในบริเวณป่าชื้นเขตร้อน (tropical rain forest)    ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางประมาณ  7% ของผืนแผ่นดินที่อยู่อาศัยทั่วโลก  ป่าชื้นเขตร้อนเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ และ เอื้ออำนวยให้มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตมากมาย เสมือนเป็นศูนย์กลางแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ที่สมควรได้รับความสนใจดูแลรักษาสภาพไว้ให้เป็นสมบัติล้ำค่าของประเทศและของโลกด้วย  นักวิชาการคาดหมายว่ามีสิ่งมีชีวิตจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ล้านชนิดในป่าชื้นเขตร้อนในจำนวนสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่คาดว่ามีประมาณ 5 ล้านชนิดหรือมากกว่านั้น แต่จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันบ่งบอกว่ามีสิ่งมีชีวิตเพียงประมาณ 5 แสนชนิดเท่านั้นที่ได้รับการศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์ และคาดว่าในป่าชื้นเขตร้อนยังมีสิ่งมีชีวิตอีกจำนวนมากมายที่มีความหลากหลายอย่างน่าอัศจรรย์  คงมีสิ่งมีชีวิตจำนวนไม่น้อยในป่าชื้นเขตร้อนที่ถูกทำลายสูญหาไปจากโลกนี้อย่างไม่มีวันที่จะหวนกลับคืนมาได้อีกโดยน้ำมือของมนุษย์จะโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม  ทั้ง ๆ ที่สิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้วนั้นอาจมีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติอย่างมหาศาล หากว่าเราได้รู้จักมันและศึกษาหาความรู้จากมันเสียก่อน
            เราต้องยอมรับความจริงว่าการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยกลไกตามธรรมชาติ  เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นไม่เร็วก็ช้า  มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตชนิดที่ปรากฎอยู่ในโลกปัจจุบันเป็นเพียงส่วนน้อยนิดประมาณ 1% ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ จำนวนมากมายหลายร้อยล้านชนิดที่เคยอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ในอดีตกาล  โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลา 600 ล้านปีที่ผ่านมา  มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มีสิ่งมีชีวิตมากมายและหลากหลายที่สุด  จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นยุคทองของความหลากหลายทางชีวภาพทีเดียว เราอาจประมาณการณ์ได้ว่าอัตราสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในช่วงเวลาดังกล่าวในอดีตกาล  เกิดขึ้นตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ  โดยเฉลี่ยประมาณปีละ 1 สปีชีส์ แต่ในปัจจุบันพบว่า  การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตตามสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมยุคใหม่ เกิดขึ้นในอัตราที่รวดเร็วเป็นหลายร้อยหลายพันเท่าของอัตราสูญพันธุ์ในอดีตกาล  จะสังเกตว่า การสูญพันธุ์อย่างรวดเร็วเกิดขึ้นในพวกที่อาศัยอยู่ในป่าชื้นเขตร้อน  โดยเฉพาะในประเทศที่ด้วยพัฒนา และที่กำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยเราด้วย การสูญเสียทรัพยากรสิ่งมีชีวิตอย่างมากมายในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียงไม่กี่สิบปีมานี้ ส่วนใหญ่เกิดจากน้ำมือของมนุษย์อย่างน่าอนาถใจยิ่ง  นักวิชาการประเมินอัตราสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตประมาณวันละ 1 ชนิด ในช่วงปี ค.ศ. 1970 และเพิ่มขึ้นเป็นชั่วโมงละ 1 ชนิดในช่วงปี ค.ศ. 1980 หากอัตราสูญพันธุ์เป็นไปในลักษณะเช่นนั้ก็เป็นที่เชื่อกันว่าภายใจสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นี้ จะมีการสูญพันธุ์ไม่น้อยกว่า  20-50%  ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลกกลมใบนี้  และในจำนวนที่สูญพันธุ์ไปนี้จะเป็นการสูญเสียจากป่าชื้นเขตร้อนมากที่สุด เพราะมีหลักฐานแสดงให้เห็นชัดเจนว่ามีการทำลายป่าไม้ในเขตร้นอย่างมากมายในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา
            ในระบบนิเวศที่สมดุล  การสูญเสียสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง อาจมีผลกระทบถึงสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องเป็นลูกโซ่  มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่กรณี นักชีววิทยาได้ประมาณการณ์ว่า การสูญพันธุ์ของพืชชนิดหนึ่งสามารถส่งผลกระทบให้มีการสูญเสียแมลงและสัตว์อื่นในระบบนิเวศเดียวกันได้มากมากหลายชนิด อาจมากถึง 30 ชนิดก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบอาจไม่ปรากฎชัดเจนในทันท่วงทีในระบบนิเวศที่ซับซ้อน
            ความหลากหลายของระบบนิเวศ  ระบบนิเวศประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตนานาชนิด และรูปแบบต่าง ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ และจุลินทรีย์  ที่อยู่ร่วมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง  โดยสิ่งมีชิวิตเหล่านั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมรอบ ๆ ตัวได้ การปรับตัวเปลี่ยนแปลงบางอย่างของสิ่งมีชิวตอาจเกิดขึ้นภายในหนึ่งชั่วอายุ หรืออาจเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลายาวนานหลายชั่วอายุ โดยผ่านการคัดเลือกตามธรรมชาติ ตามกระบวนการวิวัฒนาการ  สมบัติและความสามารถของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด แต่ละตัวตนในแต่ละประชากรที่จะเจริญเติบโต แตกต่างกันออกไปในสภาวะแวดล้อมที่หลากหลาย และเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลานั้น  มีพื้นฐานมาจากความแตกต่างแปรผันทางพันธุกรรม สิ่งมีชีวิตและสภาวะแวดล้อมต่างก็มีบทบาทร่วมกันและมีปฏิกิริยาต่อกันและกันอย่างซับซ้อนในระบบนิเวศที่สมดุล ขนาดของประชากรเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่อาจมีผลต่อระบบนิเวศ  ประชากรที่มีขนาดเล็กมากจะล่อแหลมต่อการสูญพันธุ์มากกว่าประชากรที่มีขนาดใหญ่   การลดขนาดของประชากรอาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมอย่างฉับพลัน  ซึ่งมีผลทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรมจนประชากรนั้นไม่สามารถปรับตัว และสูญพันธุ์ไปในที่สุด  นอกจากนั้นประชากรที่มีขนาดเล็กแต่สมาชิกกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่กว้างขวาง คงประสบปัญหาเรื่องการขาดคู่ผสมพันธุ์ อันเป็นผลให้ประชากรนั้นต้องสูญพันธ์ไปได้เช่นเดียวกัน  ดังนั้น โครงสร้างและสมบิตของระบบนิเวศเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ รวมทั้งมนุษย์อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล การกระทำได ๆ ที่จะก่อให้เกิดการขาดแคลนสปีชีส์หรือลดขนาดของประชากรของสปีชีส์หนึ่ง ย่อมส่งปผลกระทบต่อระบบนิเวศนั้นอย่างแน่นอนยิ่งหากมีการกระทำที่นำไปสู่การสูญพันธุ์หรือแม้กระทั่งเกือบสูญพันธุ์ของสิ่งมีชวิตเพิ่มมากขึ้นด้วยแล้ว ย่อมหมายถึงการเดินทางไปสู่ความหายนะของระบบนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น Homo sapiens เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในระบบนิเวศต่าง ๆ  ทั่วทุกมุมโลก  เพราะได้รับการสนับสนุนและการเอื้ออาทรจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆของระบบนิเวศ  ความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์ได้มาถึงจุดสุดยอด และเริ่มเสื่อมลง  เพราะมนุษย์เริ่มทำลายสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่เคยช่วยเหลือสนับสนุนตนเองมาโดยตลอด  ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค หรือการแสวงหาความสุขและความบันเทิงบนความทุกข์ยากของสิ่งมีชีวิตอื่นก็ตาม จนทำให้เกิดการเสียดุลของระบบนิเวศ ซึ่งจะนำไปสู่ความเสียหายอย่างใหญ่หลวงของสรรพสิ่งทั้งมวล
การที่สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ  ถูกทำลายสูญหายไปจากโลก  จะโดยภัยธรรมชาติ หรือจากน้ำมือของมนุษย์ก็ตามที  จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเร่งให้อัตราสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่เหลืออยู่ในโลกนี้เพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ  อันเนื่องมาจากเสียดุลของระบบนิเวศนั้นเอง  อัตราสูญพันธุ์อาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละระบบนิเวศ อาจมีคำถามตามมาว่า จะมีทางเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด หรือไม่ที่มนุษย์จะนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาใช้ในการปรับปรุงหาสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นมาทดแทนสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไป  เช่น  การปลูกพืชชนิดใหม่  หรือการนำสัตว์พันธุ์ใหม่เข้ามาทดแทนชนิดเดิม  ในทางเทคนิคแล้วไม่มีปัญหาที่จะทำเช่นนั้น แต่เราต้องไม่ลืมว่าการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศของป่าจากสภาพธรรมชาติเดิมมาเป็นระบบที่จัดสร้างขึ้นมาใหม่ตามรูปแบบที่มนุษย์ต้องการนั้น อาจทำได้เฉพาะในบางท้องถิ่นเท่านั้น อย่างเช่น ในป่าเขตอบอุ่น อาจทำการจัดปลูกป่าทดแทนได้ เพราะสภาพอากาศและดินเอื้ออำนวยต่อการเปลี่ยนแปลงได้พอสมควร แต่จะพบว่าในป่าชื้นเขตร้อนที่มีสภาพอากาศแปรปรวนไปตามฤดูกาล และ ความสมบูรณ์ของอาหารพืชมักจะสะสมอยู่ในต้นพืชเสียเป็นส่วนใหญ่  ซึ่งยากที่จะหาสิ่งใหม่ ๆ มาทดแทนได้อย่างเหมาะสม  หากป่าชื้นเขตร้อนถูกทำลายไปจนหมดแล้ว สภาพทางนิเวศวิทยาก็จะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง  ในกรณีเช่นนี้ สิ่งที่มนุษย์จะทำได้ดีที่สุดและควรทำอย่างยิ่ง คือ การหามาตรการป้องกันน้ำไหลบ่าท่วมพื้นที่ และหาทางทำแหล่งกักเก็บน้ำที่เหมาะสม มิเช่นนั้น ก็อาจเกิดเหตุการณ์ที่น่าสะพรึงกลัว  ดังเช่นที่เกิดขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทยเมื่อปลายปี  พ.ศ.  2531  และในอีกหลายแห่งของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก  อย่างไรก็ตามสภาพนิเวศวิทยาบางแห่งที่ถูกเปลี่ยนแปลงเกิดความไม่สมดุล หรือถูกทำลายไปแล้ว  ก็ไม่สามารถจะสร้างระบบใหม่ขึ้นมาทดแทนได้  จะโดยวิธีการเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าเพียงใดก็ตาม  ทั้งนี้ เพราะว่าการสูญเสียแหล่งสะสมความแปรผันทางพันธุกรรม  อันถือได้ว่าเป็นขุมทรัพย์ล้ำค่า ของประชากรของสิ่งมีชีวิตนั้น จะเป็นการส่งเสริมให้มีการทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศนั้น ในลักษณะการคล้ายกับทฤษฎีโดมิโนนั่นเอง
ดังนั้น  การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าช่วยในการเสริมสร้างทดแทนระบบนิเวศที่เสียสภาพสมดุลไป  มักไม่ค่อยประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ธรรมชาติเท่านั้นที่จะทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างดำรงต่อไปได้อย่างกลมกลืนกันที่สุด หากเราต้องการที่จะเสี่ยวงต่อการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติ  โดยหวังประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง  ไม่ว่าจะเป็นด้านผลผลิตทางเกษตรกรรม ผลผลิตทางการแพทย์ และด้านวัตถุดิบเพื่อการอุตสาหกรรมแล้ว เราก็ต้องเตรียมพร้อมที่จะเสียค่าใช้จ่ายให้กับสิ่งที่เราได้มา แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่ามันจะคุ้มค่ากันหรือไม่นั้น  เป็นสิ่งที่ปัญญาชนทั่วไปต้องพิจารณาให้ถ่องแท้  ก่อนที่จะกระทำการใด ๆ ลงไป มิเช่นนั้น ผลไได้ที่เรามองเห็นชัดเจนจะไม่คุ้มค่ากับผลเสียที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและในระยะยาม ซึ่งยากแก่การประเมินค่าให้เห็นชัดเจน อันนี้เป็นจุดอ่อนของนักวิชาการด้านธรรมชาติวิทยาที่ถูกโจมตีโดยนักพัฒนา นักการเมือง นักเศรษฐศาสตร์  รวมทั้งผู้มีอำนาจในการวางนโยบายด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งหลาย  ผู้ซึ่งมักกล่าวอ้างให้นักวิชาการด้านธรรมชาติวิทยา  ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการกระทำที่จะนำไปสู่การเสียสมดุลของระบบนิเวศ ให้หาข้อมูลและพิสูจน์ให้เห็นถึงประโยชน์และคุณค่าของความหลากหลายของระบบนิเวศที่ควรรักษาไว้นั้นโดยให้เวลาจำกัด ซึ่งเป็นเรื่องยากที่นักวิชาการจะกระทำได้ เพราะการเปลี่ยนแปลง หรือ เสียดุลของระบบนิเวศจะไม่ส่งผลให้เห็นชัดเจนในเวลาจำกัดตามที่เราต้องการ  อย่างไรก็ตามผมกลับมองไปในทางตรงกันข้ามว่า  นักพัฒนาหรือผู้กล่าวอ้างเหล่านั้น  น่าที่จะเป็นผู้หาหลักฐานพิสูจน์ยืนยันให้เห็นว่า พืชและสัตว์นานาชนิดของระบบนิเวศที่เราคิดจะอนุรักษ์ไว้นั้น  ไม่มีประโยชน์และไม่มีคุณค่าต่อการพัฒนาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาว  ซึ่งก็คงจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยากเช่นเดียวกัน

            ความหลากหลายของพันธุกรรม    กระบวนการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต     โดยการการคัดเลือกตามธรรมชาติขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือองค์ประกอบทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตนั้นกับสภาวะแวดล้อม  ความหลากหลายของพันธุกรรมเป็นรากฐานสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพื่อที่จะเอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ    ตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงศัตรูหรือ ต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บ  ความหลากหลายของพันธุกรรมภายในประชากรที่อาศัยอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ กันของสปีชีส์หนึ่ง  ยังช่วยเพิ่มศักยภาพของประชากรของสปีชีส์นั้นให้สามารถวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ กันได้อย่างเหมาะสมในระยะยามอีกด้วย (ภาพที่ 1)  ดังจะเห็นว่าพันธุ์พืชป่าจะมีวิวัฒนาการเปลี่ยแปลงปรับตัวเพื่อต่อสู้กับสัตว์และพวกจุลินทรีย์ที่เป็นศัตรูอยู่ตลอดเวลา ในทำนองเดียวกันพวกสัตว์ที่เป็นศัตรูของพืชต่าง ๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการที่จะเอาชนะพืชให้ได้ กระบวนการวิวัฒนาการร่วมกันระหว่างพันธุ์พืชและสัตว์เช่นนี้ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยความสอดคล้องของความหลากหลายทางพันธุกรรมของทั้งพืชและสัตวืดังกล่าว  เพื่อเปิดโอกาสให้มีการคัดเลือกตามธรรมชาติ  เช่น พืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่งอยู่ร่วมกับผีเสื้อชนิดหนึ่ง  โดยตัวหนอนของผีเสื้ออาศัยกินใบของพืชตระกูลถั่วชนิดนั้นเป็นอาหาร นักชีววิทยาค้นพบว่ามีความหลากหลายของพันธุกรรมหรือยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการสังเคราะห์สารแอลคาลลอยด์ชนิดต่าง ๆ ในพืชถั่ว  สารแอลคาลลอยด์บางชนิดมีสมบัติเป็นพิษต่อการดำรงชีวิตของตัวหนอนผีเสื้อชนิดนั้นด้วย  และผีเสื้อนี้ก็มีความหลากหลายของยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมเอนไซม์ที่ช่วยทำลายหรือยับยั้งสารพิษแอลคาลลอยด์รูปแบบต่าง ๆ  ของพืชด้วยเช่นกัน      ทำให้ทั้งพืชถั่วและผีเสื้อวิวัฒนาการร่วมกันอย่างสมดุลตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
            ผลกระทบที่เด่นชัดที่สุดของประชากรธรรมชาติที่ขาดแคลนความหลากหลายของพันธุกรรม คือ การนำไปสู่สภาวะโฮโมไซโกซิตีของสมาชิกของประชากรนั้น   นอกจากนั้น  ประชากรที่ขาดความแปรผันทางพันธุกรรมยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดประสิทธิภาพของการอยู่รอดและความสมบูรณ์ในการสืบพันธุ์อีกด้วย  ผลกระทบต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งของสภาวะความกดดันของการผสมภายในสายพันธุ์ (inbreeding depression)  ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสูญเสียความยืดหยุ่นทางวิวัฒนาการอย่างแน่นอน
            การคัดเลือกพันธุ์ และเก็บรักษาพันธุ์พืชหรือสัตว์ เพื่อการเกษตรกรรม  โดยเก็บตัวอย่างจำนวนจำกัดของสายพันธุ์ที่ตรงกับความต้องการของเรา  คงไม่เกิดผลดีเท่าไรนัก เพราะการทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายของพันธุกรรม  อันอาจก่อให้เกิดผลร้ายตามมาอย่างคาดไม่ถึง  การเพาะเลี้ยงสายพันธุ์พืช หรือสัตว์อาจได้รับการปกป้องรักษาโดยมาตรการควบคุมศัตรู  จะโดยการใช้สารเคมีหรือใช้ชีววิธีก็ตาม ก็ไม่ให้ผลดีเท่ากับสมบัติการต่อต้านหรือดื้อต่อศัตรูที่เกิดจากพันธุกรรม  ดังนั้น  การปรับปรุงพันธุ์ข้าว  ข้าวโพด  ข้าวสาลี จำเป็นต้องหาสายพันธุ์ที่มียีนที่ดื้อ หรือต่อต้านศัตรูพืชเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอ  เพราะศัตรูพืชมีกลไกการปรับตัวทางพันธุกรรมที่จะทำให้มันสามารถอยู่รอดได้โดยอาศัยพืชเหล่านี้ด้วย  สิ่งจำเป็นพื้นฐาน    ของการปรับปรุงรักษาพันธุ์พืชหรือสัตว์ คือ การแสดงหาสายพันธุ์ที่มีความหลากหลายของพันธุกรรมทั้งในด้านผลผลิต  และด้านความสามารถต่อต้านศัตรู  เพื่อนำมาใช้ในการผสมพันธุ์และการคัดเลือกสายพันธุ์ตามหลักวิชาการ  แต่สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการตัดเลือกสายพันธุ์ คือ การสูญเสียความหลากหลายของพันธุกรรมเสมอ  ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของมนุษย์ในความพยายามที่จะเอาชนะธรรมชาติ แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคที่เกิดจากธรรมชาตินั้นเอง  วงการเกษตรกรรมเคยฮือฮากับปฏิวัติเขียว หรือ กรีนเรโวลูชัน (green revolution) ซึ่งเป็นความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การเกษตร ที่ปรับปรุงพันธุ์ข้าว   และข้าวโพด ให้ได้ผลผลิตสูงเพียงพอกับความต้องการของ ประชาชนจำนวนมากในประเทศที่ยากจนและด้วยพัฒนาในโลกที่สาม  พันธุ์ข้าวและข้าวโพดสายพันธุ์ต่าง ๆ ที่พัฒนาปรับปรุงขึ้นมาในประเทศที่เจริญแล้ว จะให้ผลผลิตสูงมากกว่าพันธุ์พื้นเมืองที่ชาวบ้านมีอยู่  หากได้รับการดูแลที่เหมาะสมในเรื่องเกี่ยวกับน้ำ ปุ๋ย และยาปราบศัตรู แต่โดยธรรมชาติของเกษตรกรทั่วไปที่มุ่งหวังแต่ผลผลิตสูงเป็นประเด็นสำคัญ โดยไม่คำนึงถึงหลักและความสำคัญของความหลากหลายของพันธุกรรม  ผลก็คือมีการนำเอาสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่พัฒนาขึ้นมาใช้แทนที่พันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม    ซึ่งค่อย ๆ ถูกละเลยและถูกทอดทิ้งจนกระทั่งสูญหายไปในที่สุด หรืออีกนัยหนึ่ง  เป็นการนำเอาความเป็นเอกภาพของพันธุกรรม (genetic uniformity หรือ hemogeneity)     มาทดแทนความหลากหลายของพันธุกรรม  (genetic diversity)  ทำให้พันธุ์พื้นเมืองที่มีองค์ประกอบพันธุกรรมเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองในท้องถิ่นนั้น ๆ ต้องสูญหายไปอย่างน่าเสียดาย เสมือนเป็นการทำลายอู่ข้าวอู่น้ำที่มีค่าอย่างคาดไม่ถึง  ยิ่งไปกว่านั้น การพัฒนาประเทศในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ และสังคมที่มีการทำลายธรรมชาติป่าเขาลำเนาไพร เช่น การสร้างเขื่อนเพื่อพลังงานไฟฟ้า   และการชลประทาน  การทำเหมืองแร่  การทำอุตสาหกรรมป่าไม้  การสร้างเมืองใหม่  การขยายพื้นที่เพาะปลูก ฯลฯ ย่อมนำไปสู่การสูญเสียพืชพันธุ์เก่าแก่ในท้องถิ่นดั้งเดิม  ซึ่งเป็นการทำลายความหลากหลายของพันธุกรรมโดยที่มิอาจเรียกกลับคืนมาได้อีก       ดังเช่นเหตุการณ์ที่น่าเสียใจที่เกิดขึ้นในประเทศโลกที่สามอย่างเช่น    ไนจีเรีย   เอธิโอเปีย กลุ่มประเทศในอเมริกาใต้ และในเอเชีย
            ความหลากหลายของพันธุกรรมในประชากรธรรมชาติจำเป็นต้องพิทักษ์รักษาไว้ เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบของหน่วยพันธุกรรมรูปแบบใหม่ ๆ   ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาปรับปรุงสายพันธุ์ใหม่ ๆ   ที่มนุษย์ต้องการ  ตัวอย่างการค้นพบข้าว  ข้าวโพด  มันฝรั่ง  มะเขือเทศ  และพืชชนิดอื่น ๆ ที่เป็นพันธุ์เก่าแก่และถูกทอดทิ้งอยู่ในป่ามาเป็นเวลานาน  ยังก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลต่อมนุษย์ ดังจะเห็นว่า การค้นพบมะเขือเทศสปีชีส์ใหม่ 2 ชนิด ในป่าทึบของประเทศเปรู  สปีชีส์ที่ค้นพบใหม่เป็นพันธุ์เก่าแก่ที่หายากมาก นักวิทยาศาสตร์ได้นำเอามะเขือเทศพันธุ์เก่าแก่มาผสมพันธุ์กับพันธุ์ที่ใช้เพาะปลูกโดยเกษตรกรทั่วไปแล้วปรากฎว่า ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงมากกว่าพันธุ์ที่เคยใช้กันอยู่หลายเท่า และสามารถปรับปรุงพันธุ์ผสมใหม่ที่ได้ยีนมาจากพันธุ์ป่าเก่าแก่  ทำให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจต่อประเทศสหรับอเมริกาอย่างมหาศาลเกินค่าเงินที่ลงทุนไปในการวิจัยค้นหาพันธุ์เก่าแก่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในป่านั้น
            การค้นพบสายพันธุ์ข้าวชนิดเก่าแก่ที่มีความต้านทานต่อโรคข้าวหลายชนิด แต่พันธุ์ข้าวเหล่านั้นมีคุณค่าท่างผลผลิตน้อยจนถูกละเลยในประเทศอินเดีย  ทำให้นักปรับปรุงพันธุ์ข้าวคัดเลือกเอายีนที่ต้านทานโรคข้าวได้ดีมาใช้ปรับปรุงพันธุ์ข้าวปกติที่ให้ผลผลิตสูง  อันจะยังประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากมาย

            ประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพ  ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นผลผลิตของกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม     ในทางชีววิทยาแล้ว  ถือว่า   ความหลากหลายทางชีวภาพมีความสำคัญยิ่งในการศึกษาประวัติศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต  และกลไกการเกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ๆ ที่มีความหลากหลายในแต่ละท้องถิ่นของทุกมุมโลก  แต่ในด้านเศรษฐกิจและสังคมทั่วไปแล้ว มักมีข้อสังเกตและความไม่แน่ใจเกี่ยวกับคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะการค้นหาคุณค่าของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งเราต้องมีความรู้ความเข้าใจในสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นเสียก่อน  ถ้าหากเราไม่เคยรู้จักมันเลยและไม่เคยรู้ว่ามีสิ่งนั้นอยู่ในโลกนี้แล้ว เราจะรู้ถึงคุณค่านั้นได้อย่างไรกัน  หากจะคิดอย่างนักธรรมชาติวิทยา  ผมมีความเชื่อมั่นว่าสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อุบัติขึ้นมาและอยู่ได้ในระบบนิเวศที่สมดุลย่อมมีคุณค่าอยู่ในตัวเองเสมอ  เพียงแต่ว่าเราจะมีวิธีการค้นคว้าหาความรู้และนำคุณค่าของมันมาใช้ได้อย่างเหมาะสมหรือไม่เท่านั้น คงไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายนักที่จะนำเอาหลักการคำนวณทางเศรษฐศาสตร์มาใช้ประเมินหาคุณค่าที่แท้จริงของสิ่งมีชีวิตที่แฝงอยู่ในความหลากหลายในรูปแบบต่าง ๆ  กันอย่างซับซ้อน  นักวิชาการมีความรู้สึกว่ากว่าจะศึกษาประเมินคุณค่าอย่างแท้จริงของความหลากหลายทางชีวภาพที่เห็นสมควรจะอนุรักษ์ไว้ได้ทันใจผู้บริหารการพัฒนาประเทศ ก็คงจะไม่มีความหลากหลายทางชีวภาพให้หลงเหลือไว้ได้เชยชม และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์กัน
            มีข้อมูลแสดงให้เห็นถึงคุณค่าและประโยชน์ของความหลากหลายทางชีวภาพต่อกิจกรรมต่าง ๆ  ของมนุษย์  โดยเฉพาะพืชนานาชนิดที่มนุษย์นำเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งในด้านการเกษตรกรรม  การแพทย์  และการอุตสาหกรรม ดังตัวอย่างที่พอสรุปได้ดังนี้
            การเกษตรกรรม:  เราอาจมองถึงประโยชน์ของพืชที่มนุษย์นำมาใช้ให้เกิดคุณค่าทางการเกษตรกรรม  โดยเฉพาะการนำเอามาเป็นอาหาร ปัจจุบันเราทราบดีว่าพืชจำนวนไม่น้อยกว่า 3,000 ชนิดที่ใช้กินได้ และมีไม่น้อยกว่า 150 ชนิดที่มนุษย์นำมาเพาะปลูกเป็นอาหารสำหรับคนและสัตว์เลี้ยง แต่ในจำนวนนี้มีพืชเพียงประมาณ 20 ชนิดเท่านั้นที่ใช้เป็นอาหารของประชากรโลก  โดยเฉพาะพืชที่มีผลิตผลเป็นอาหารหลัก คือ พวกแป้ง ได้แก่ พวกข้าว ข้าวโพด และมันฝรั่ง  ความหลากหลายของพืชชนิดต่าง ๆ ที่มนุษย์นำมาใช้เป็นแหล่งอาหาร จะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่ถูกนำมาใช้ในการปรับปรุงคัดสายพันธุ์ เพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นดังตัวอย่าง เช่น
?       มะเขือเทศพันธุ์เก่าแก่ที่ถูกค้นพบในประเทศเปรูเมื่อไม่นานมานี้   และถูกนำมาผสมพันธุ์  และ 
คัดเลือกสายพันธุ์กับพันธุ์ที่เกษตรกรเคยใช้กันอยู่ ทำให้ได้ผลผลิตน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้น คิดเป็นมูลค่าหลายสิบล้านบาทต่อปี
?       ข้าวโพดชนิดใหม่ที่ถูกค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้ในประเทศเม็กซิโก  ช่วยเพิ่มความสามารถต้านทานโรคที่
เกิดจากเชื้อไวรัสได้ดี ข้าวโพดชนิดใหม่นี้พบเฉพาะในป่าของเม็กซิโกเท่านั้น
?       การค้นพบยีนที่มีสมบัติต่อต้านโรคข้าวในประชากรธรรมชาติของข้าวชนิดเก่าแก่ในประเทศ
อินเดีย ทำให้ผลผลิตข้าวสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชีย   ในทำนองเดียวกัน ยีนที่มีสมบัติต่อต้านโรคในอ้อยในภูมิภาคเอเชีย ช่วยทำให้อุตสาหกรรมน้ำตาลจากอ้อยของประเทศสหรัฐเอมริกาดำเนินกิจการมาได้ดีจนถึงปัจจุบัน
            หากมีการสนับสนุนให้มีการศึกษาค้นคว้าหาความหลากหลายของพืชนานาพันธุ์ในประชากรธรรมชาติที่ยังความหลากหลายทางชีวภาพอยู่แล้ว ก็อาจมีการค้นพบพืชชนิดใหม่ ๆ ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ประกอบกับการนำเอาเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้จะทำให้สามารถพัฒนาปรับปรุงพืชพันธุ์ใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และยังประโยชน์ให้แก่มนุษย์อย่างใหญ่หลวงทีเดียว
            ความต้องการด้านอาหารของประชากรโลกในส่วนที่มีการเพิ่มของประชากรมากมาย  โดยเฉพาะในประเทศโลกที่สาม ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมดินฟ้าอากาศ  อันเนื่องมาจากกิจกรรมของคนในท้องถิ่น เป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดการผลักดันให้นักวิชาการชีววิทยา และ เกษตรกรจำเป็นต้องแสวงหา และรักษาความหลากหลายของพืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ  เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงสายพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศของแต่ละท้องถิ่น  เพื่อให้เกิดผลผลิตเพียงพอแก่ความต้องการความหลากหลายของพืชชนิดใหม่ ๆ ที่มีความแปรผันทางพันธุกรรม  อาจได้รับการศึกษาและปกป้องรักษาพันธุ์ไว้  โดยการอนุรักษ์ป่าหรือบริเวณแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพืชเหล่านั้น  ให้คงอยู่ในสภาพเดิมให้มากที่สุด ควบคู่กับการนำเอาความหลากหลายของสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์เหล่านั้น มาเก็บไว้ในห้องเก็บรักษาเมล็ดสายพันธุ์ในธนาคารเมล็ด หรือธนาคารยีน  ซึ่งถือปฏิบัติกันบ้างแล้วในหลายประเทศ
            การแพทย์:  คนสมัยก่อนเรียนรู้ความสำคัญของพืชบางชนิด ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บอย่างได้ผลดีมาเป็นเวลายาวนานนับเป็นพัน ๆ ปีมาแล้ว แต่น่าเสียดายที่พืชสมุนไพรถูกมองข้ามและถูกละเลยไปนานหลายสิปปีที่ผ่านมา  เพราะความเชื่อในศักยภาพและประสิทธิภาพทางการแพทย์สมัยใหม่  จนลืมวิธีการรักษาแบบโบราณด้วยยาสมุนไพรเกือบหมดสิ้น  แต่ก็ยังนับว่าโชคดีที่ยังมีคน หัวโบราณที่ยากจนในประเทศโลกที่สามยังนิยมใช้ยาสมุนไพร  หรือด้วยความจำใจใช้ยาสมุนไพรรักษาโรคภัยไข้เจ็บตามตำราแพทย์แผนโบราณที่ถูกถ่ายทอดกันต่อ ๆ มา โดยเห็นประโยชน์จาการมองการณ์ไกลของคนไทยโบราณ  ปัจจุบันพืชสมุนไพรกลับมาได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางอีกครั้งหนึ่ง พืชสมุนไพรที่รู้จักกันดีหลายชนิดที่ขึ้นอยู่ตามป่าเขาในธรรมชาติลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว  จากการนำมาใช้เป็นยาสมุนไพร และจากการที่ป่าถูกทำลายด้วยนำมือของมนุษย์เอง
            ประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทยเรา ได้นำพืชสมุนไพรมาใช้ประโยชน์มากมาย ประมาณกว่าร้อยละ  40 ของยารักษาโรคต่าง ๆ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน  ได้มาจากตัวยาสมุนไพรหรือไม่ก็ได้มาจากการศึกษาสารเคมีที่มีต้นกำเนิดมาจากสารสกัดจากพืชสมุนไพรในป่าธรรมชาติทั้งสิ้น  ตัวอย่างเช่น  พังพวยฝรั่งชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ในป่าของเกาะมาดากาสกา  ชาวบ้านพื้นเมืองใช้พืชสมุนไพรนี้รักษาโรคเบาหวาน และโรคความดันสูง  ชาวบ้านพื้นเมืองรู้จักใช้พืชสมุนไพรนี้จากการสังเกตว่า พืชชนิดนี้มีพิษและเป็นอันตรายถึงชีวิตต่อสัตว์ที่กินมัน  ยิ่งไปกว่านั้น ชาวบ้านยังสังเกตว่า พืชกลุ่มนี้ไม่ค่อยมีโรคที่เกิดจากเชื้อโรคและปรสิตต่าง ๆ  เลย  เมื่อนักวิทยาศาสตร์นำพืชสมุนไพรนี้มาสกัดศึกษาพบว่า  พืชชนิดนี้มีผลผลิตเป็นพวกแอลคาลลอยด์หลายชนิด รวมทั้ง vincristine และ viblastine  ซึ่งมีสมบัติเป็นตัวยารักษาโรคมะเร็งได้เป็นอย่างดี  จึงนับว่าพืชสมุนไพรนี้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจปีละหลายร้อยล้านบาท หากไม่มีการค้นพบพืชกลุ่มนี้เสียก่อน  มนุษย์เราคงจะสูญเสียสิ่งที่มีค่าที่สุดอย่างหนึ่งไปอย่างน่าเสียดาย  โดยที่ตัวเราเองไม่มีทางรู้ได้เลย
            ยาควินินที่ใช้รักษาโรคมาลาเรียในสมัยก่อน  เป็นผลผลิตของพืชพวก cinchona ที่ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในเปรู  และต่อมาแพร่หลายกระจายไปทั่วโลก เพราะตัวยานี้มีสมบัติบำบัดรักษาไข้มาลาเรียได้เป็นอย่างดี  ปัจจุบันนักวทิยาศาสตร์สามารถสังเคราะห์สารควินินขึ้นมาใช้ได้จากการเรียนรู้โครงสร้างเคมีของสารที่สกัดจากพืชนั่นเอง
            ในป่าเขตร้อนอย่างเช่นประเทศไทยเรา  เชื่อว่าจะมีพันธุ์พืชสมุนไพรที่มีคุณค่าอีกมากมาย ที่ยังไม่ได้ถูกค้นพบและนำเอามาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างจริงจัง  จะเห็นว่ามีข่าวอยู่บ่อยครั้งที่ชาวบ้านพบพันธุ์พืชประหลาดหลายอย่างในป่าชื้นเขตร้อนบ้านเรา  ที่ชาวบ้านนำเอามาใช้รักษาโรคได้ดี  และก็มีพืชบางชนิดที่สัตว์หรือคนกินเข้าไปแล้วเป็นอันตรายถึงชีวิต หากพันธุ์พืชประหลาดดังกล่าวได้รับการศึกษาอย่างถูกต้องอาจพบว่ามันมีคุณค่าต่อมนุษย์อย่างใหญ่หลวงก็เป็นได้ เหมือนกับตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว
            หมอชาวบ้านหรือหมอแผนโบราณสมัยก่อนมีความสำคัญต่อสังคมท้องถิ่นอย่างมาก  แต่ในระยะหลังนี้จำนวนหมอชาวบ้านลดน้อยลงมาก หมอชาวบ้านรุ่นเก่าได้สูญหายตายจากไป บ้างก็อาจถ่ายทอดวิชาความรู้ที่เล่าเรียนสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนตามประเพณีของคนโบราณ  แต่บางคนก็ไม่มีโอกาสได้ถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ที่มีอยู่อย่างน่าเสียดายยิ่ง  อาจถือว่าเป็นการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตที่ล้ำค่าไปอีกอย่างหนึ่ง  ปัจจุบันหมอชาวบ้านเป็นกลุ่มคนที่ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่ทะนุถนอมไว้ เพื่อให้สามารถถ่ายทอดวิชาการความรู้ในลักษณะการเช่นเดียวกับพืชและสัตว์บางชนิด  ที่ต้องได้รับการพิทักษ์รักษาไว้ไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้
            การอุตสาหกรรม:  ผลผลิตจำพวกสารเคมีจากพืชและสัตว์นานาชนิดถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรค และยากำจัดแมลงศัตรูพืช และสัตว์เลี้ยงแทนการใช้สารเคมี  ซึ่งส่วนมากมีฤทธิ์ตกค้างและเป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ และสัตว์อื่น  ยาฆ่าแมลงบางชนิดที่ผลิตจากโรงงานยังอาจเป็นต้นเหตุสำคัญของการเกิดมลพิษของสภาวะแวดล้อมในสังคมทั่วไปอีกด้วย ชาวแอฟริกาตะวันตกนำถั่วชนิดหนึ่ง (Physostigma venenosum) มาสกัดใช้เป็นยาพิษฆ่าสัตว์มาเป็นเวลาช้านาน  การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของสารที่สกัดได้จากถั่วชนิดดังกล่าว  พบว่ามีประโยชน์อย่างยิ่ง  โดยนำมาพัฒนาใช้เป็นตัวยาสำคัญพวก methyl carbamate ที่ใช้เป็นยาฆ่าแมลงหลายชนิด พวกอินเดียนแดงในอเมริกาใต้ใช้พืชพันธุ์เลื้อยชนิดหนึ่ง (Lonchocarpus)  ที่ขึ้นอยู่ในป่าชื้นเขตร้อนเป็นยาพิษสำหรับการจับปลาในท้องถิ่นของตน  ปัจจุบันสารที่สกัดได้จากรากพืชพันธุ์เลื้อยเหล่านั้นถูกนำมาพัฒนาใช้เป็นสารฆ่าแมลงพวก rotenone ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงศัตรูพืชได้ดี พืชอีกชนิดหนึ่ง (Chondrodendon tomentosum)  สามารถสร้างสารเคมีที่เป็นพิษต่อสัตว์ นักวิทยาศาสตร์ได้สกัดเอาสารพิษพวก d-tubocurarine มาใช้ประโยชน์เป็นยาชา หรือ ยาสลบ ที่จำเป็นในการผ่าตัดอวัยวะภายในช่องท้องได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
            ผลผลิตของพืชป่าหลายชนิดถูกนำเอามาใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น น้ำมันพืช  ยางธรรมชาติ    พลาสติก    สารเคมีธรรมชาติ   เหล่านี้มีคุณค่าเหนือกว่าพวกสารสังเคราะห์ที่ผลิตได้จากพวก   ปิโตรเคมี และสารที่ผลิตขึ้นมาตามธรรมชาติเป็นที่ต้องการของตลาดอุตสาหกรรมมากขึ้นทุกขณะ  นอกจากนั้น ผลผลิตจากพืชบางชนิดก็ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มและเครื่องประดับของมนุษย์ในสังคมใหม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเสื้อผ้าอาภรณ์ เชือก แห เครื่องใช้ภายในบ้าน  รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ประดับบ้าน  สิ่งของเครื่องใช้บางอย่างอาจเป็นสารสังเคราะห์ แต่ก็ต้องสังเคราะห์มาจากสารเริ่มต้นที่ได้มาจากพืชเป็นหลักสำคัญ
            มนุษย์กับความหลากหลายทางชีวภาพ  มนุษย์เราได้ถือเอาข้อได้เปรียบที่เหนือกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่อยู่รอบข้างตน  มาใช้ประโยชน์เพื่อความผาสุกและความสะดวกสบายของตนเองมาเป็นเวลาช้านาน และมนุษย์ยังเพิ่มศักยภาพการทำลายสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นที่มีค่าอย่างต่อเนื่องอย่างขาดความระมัดระวัง  เพราะมัวแต่คำนึงถึงแต่เพียงความแตกต่างระหว่างผลลัพธ์ที่พึงได้จากสัตว์หรือพืช  เมื่อเปรียบเทียบกับคุณค่าของสัตว์หรือพืชแต่ละชนิดที่เราประสงค์จะอนุรักษ์ไว้ในประชากรธรรมชาติ หากมองอย่างผิวเผินเช่นนี้จะเห็นแต่ประโยชน์ของข้อได้เปรียบในการทำลายทรัพยากรสิ่งมีชีวิตที่มนุษย์ต้องการแต่เพียงข้างเดียว
            การตัดสินใจว่าสิ่งมีชีวิตใดที่ควรได้รับความในใจอนุรักษ์ไว้ และชนิดใดที่ไม่มีคุณค่าต่อมนุษย์โดยตรงอย่างชัดเจน  จะกระทำไม่ได้หากเราไม่ศึกษาหาความรู้อย่างจริงจังกับสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นเสียก่อน และเท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันการปล่อยให้สิ่งมีชีวิตนานาชนิดในป่าเขตร้อนที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพถูกทำลายไปจากโลก โดยมิได้มีการศึกษาว่ามีสิ่งเหล่านั้นอยู่ และสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะมีประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างไรบ้างนั้น ถือว่าเป็นการทำลายที่ขาดความยั้งคิด และเป็นความเห็นแก่ตัวของมนุษย์เองมากที่สุด
            ปัญหาที่เรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ คือ การที่จะระบุให้เห็นชัดเจนว่าสิ่งมีชีวิตชนิดใดที่มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของระบบนิเวศที่สมดุลที่มนุษย์เราร่วมอาศัยอยู่ด้วย สิ่งที่เราพึงกระทำได้ดีที่สุดในขณะนี้ คือ การให้การศึกษาแก่ตัวเราเอง และต่อหน่วยงานทั้งของรัฐและของเอกชนที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการวางแผนนโยบายเกี่ยวกับความจำเป็นที่มนุษย์เราต้องพึ่งพาหาประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเน้นการศึกษามุ่งไปที่ประโยชน์และคุณค่าของการปกป้องรักษาสิ่งมีชีวิตนานาชนิดที่ล้วนมีบทบาทและความสำคัญในด้านต่าง ๆ ทุกระดับชั้นของระบบนิเวศ  ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาดังกล่าว คือ จะทำให้ประชาชนทั่วไปและนักวิชาการมีความรู้สึกตื่นตัว  และมีความสำนึกต่อผลประโยชน์ที่จะบังเกิดขึ้นจากการปกป้องรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ  ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดจากกิจกรรมการเก็บเกี่ยว  หรือการนำเอาสิ่งมีชีวิตจากป่ามาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม  การเพิ่มรายได้จากแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติต่าง ๆ  และการรักษาผลผลิตด้านเกษตรกรรม หรือแม้กระทั่งผลประโยชน์อีกทางหนึ่งคือการมุ่งวิจัยค้นหาศักยภาพของพืช และสัตว์เศรษฐกิจพันธุ์ใหม่ ๆ   สมุนไพรชนิดใหม่ ๆ  และผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ ๆ  การศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า  การเก็บเกี่ยวเอาผลผลิต เช่น ผลไม้กินได้ ยาง น้ำมัน สมุนไพร จากป่าชื้นเขตร้อนอย่างสม่ำเสมอ     ทำให้ป่ามีคุณค่าทางเศรษฐกิจมากกว่าการตัดไม้  หรือโค่นป่าเพื่อการเกษตรกรรมจะเห็นได้ว่าผลประโยชน์ที่มนุษย์พึงได้รับจากการรักษาสภาพความหลากหลายทางชีวภาพให้คงไว้ในธรรมชาติ จะนำไปสู่การอยู่ดีกินดีของสังคมของประชาชน ซึ่งช่วยให้มนุษย์สามารถอยู่ร่วมโลกกับสิ่งมีชีวิตอื่นอย่างสงบสุขต่อไปได้นานแสนนาน
            จากข้อมูลและแนวความคิดต่าง    ดังกล่าว  จะเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องลงทุนในการศึกษาและปกป้องคุ้มครองธรรมชาติแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ โดยการสำรวจอย่างเป็นระบบทางด้านชีววทิยาของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด ที่ยังคงซ่อนเร้นอยู่ในป่าชื้นเขตร้อนในบ้านเรา ที่รังแต่จะลดน้อยถดถอยลงไปทุกขณะ เราควรทำพิพิธภัณฑ์เก็บรักษาตัวอย่างสัตว์และพืช เพื่อการศึกษาหาความรู้ของสิ่งเหล่านั้นต่อไป และที่สำคัญคือ  การฝึกอบรมและให้การศึกษานักชีววิทยา และนักวิทยาศาสตร์ที่สามารถปฏิบัติงานในภาคสนามในป่าชื้นและป่าเขตร้อน  ให้มีจำนวนนักวิชาการเพียงพอแก่ความต้องการ โครงการดังกล่าวจำเป็นต้องมีการลงทุนบ้าง แต่คงไม่มากมายจนเกินความสามารถของประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างเรา เป็นที่คาดหมายได้ว่าค่าใช้จ่ายในการลงทุนตามโครงการดังกล่าวจะน้อยกว่าประโยชน์ที่เราพึงได้รับอย่างแน่นอน ดังตัวอย่างการค้นพบพันธุ์ป่าดั้งเดิมของพวกข้าว  ข้าวโพด  มะเขือเทศ  ที่กล่าวมาแล้ว ที่กล่าวเช่นนี้ เนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่ และจากประสบการณ์ที่ได้พบเห็นมาบ่งบอกให้เห็นชัดเจนว่า นักวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีความสนใจปฏิบัตงานวิจัยในภาคสนามตามสภาพท้องถิ่นชนบทที่ห่างไกลนั้น  ไม่ต้องการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่หรูหรา   ราคาแพงแต่อย่างใดเลย   ขอเพียงค่าใช้จ่ายในการเดินทางและการกินอยู่อย่างง่าย ๆ เท่านั้น  การปกป้องรักษาสภาพความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศเราจึงเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนก่อนที่จะสายเกินไป  หากปล่อยให้มีการบุกรุกทำลายป่าธรรมชาติที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพที่เรายังรู้จักน้อยเหลือเกิน      ผมขอยกคำพูดของ     E. chargaff         (1978)   นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียง และเป็นผู้บุกเบิกการศึกษาด้านชีววิทยาเชิงโมเลกุล ที่กล่าวเปรียบเทียบไว้อย่างน่าคิดว่า “I cannot help thinking of the deplorable fact that when the child has found out how its mechanical toy operates, there is no mechanical toy left” เรื่องนี้ทุกคนที่มีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมควรจะกระทำ เพื่ออนุชนรุ่นหลัง  ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนาหลายแห่งกำลังตื่นตัวและให้ความสนใจในเรื่องนี้อย่างจริงจัง หน่วยงานหลายแห่งให้การสนับสนุนโครงการศึกษาและอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เช่น WWF (world Wide Fund for Nature) และ USAID  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเช่นนี้ในบ้านเราทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จะไม่แยแสต่อทรัพยากรอันล้ำค่าของบ้านเราเลยหรือไร หรือว่าใจปล่อยให้สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปตามเวรตามกรรม และความโลภ และเห็นแก่ได้ของคนกลุ่มน้อย ที่จ้องแต่จะทำลายสมบัติส่วนรวมของชาติกระนั้นหรือ

เอกสารประกอบการเรียนวิชา พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน...(การบ้าน วันอังคาร ที่ 6 กันยายน พ.ศ.2554)

เอกสารประกอบการเรียนวิชา พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน
การเรียนรู้กับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์
 การเรียนรู้ (Learning)
          การเรียนรู้หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือศักยภาพของพฤติกรรม ที่ค่อนข้างถาวร อันเกิดจากประสบการณ์ หรือการฝึกฝน (
Kimble, 1961)
 การเรียนรู้ของคนเราเกิดขึ้นได้อย่างไร
การเรียนรู้ของคนเราอาจกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นได้สองทางด้วยกัน คือ
1.       การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
2.       การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม
  
ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning)
         
ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่า พฤติกรรมของคนเรานั้นเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงเป็นผลมาจากการที่คนเรามีปฎิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม โดยทีสภาพแวดล้อมมีปัจจัยอยู่ 2 ตัวที่มีผลต่อพฤติกรรม ชึ่งได้แก่
เงื่อนไขนำ (Antecedents) และ ผลกรรม (Consequences)
           เงื่อนไขนำ คือเหตุการณ์หรือสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการเกิดพฤติกรรม เป็นปัจจัยที่บอกให้คนเรารู้ว่า เราควรทำหรือไม่ควรทำพฤติกรรมที่เราต้องการจะทำหรือไม่ เช่นสัญญานไฟแดง บอกให้เรารู้ว่าเราควรจะหยุดรถแม้ว่าเราต้องการที่จะขับรถต่อไปก็ตาม  หรือการที่เราเห็นคุณแม่อารมณ์ดี ก็จะเป็นสัญญานให้รู้ว่าถ้าจะขอเงินพิเศษ คุณแม่ก็คงจะให้เป็นต้น             
           ผลกรรม คือเหตุการณ์หรือสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นหลังการเกิดพฤติกรรม มีผลทำให้พฤติกรรมนั้นมีโอกาสที่จะเกิดบ่อยขึ้น สม่ำเสมอ หรือลดลง ยุติลง ในการอธิบายถึงกระบวนการเรียนรู้นั้น Skinner ให้ความสำคัญกับการจัดการผลกรรมมากที่สุด ผลกรรมที่สำคัญนั้น Skinner แบ่งออกเป็น3ประเภทด้วยกันคือ
1.       ตัวเสริมแรงทางบวก (PositiveReinforcer) คือผลกรรมที่ตามหลังพฤติกรรม แล้วทำให้พฤติกรรมนั้น เกิดบ่อยครั้งขึ้น หรือเกิดขึ้นสม่ำเสมอ กระบวนการที่ให้ผลกรรมแล้วทำให้พฤติกรรมเกิดบ่อยครั้งขึ้นนั้นเรียกว่า การเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcement)  เช่นการที่คนเราทำงานแล้วได้เงินเดือน เงินเดือนก็เป็นตัวเสริมแรงทางบวกให้คนเราทำงานบ่อยครั้ง หรือการที่เราแต่งตัวให้ดูดีแล้วได้รับคำชมว่าแต่งตัวเป็น ก็ทำให้เราแต่งตัวดีทุกครั้งที่ออกงาน คำชมก็จัดได้ว่าเป็นตัวเสริมแรงทางบวกต่อพฤติกรรมการแต่งตัวดีของเราเป็นต้น
2.       ตัวลงโทษ (Punisher) คือผลกรรมที่ตามหลังพฤติกรรม แล้วทำให้พฤติกรรมนั้น ลดลงหรือยุติลง กระบวนการที่ให้ผลกรรมแล้วทำให้พฤติกรรมลดลงหรือยุติลงนั้นเรียกว่า การลงโทษ (Punishment) เช่นการที่เราขับรถเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้วถูกตำรวจจับ ปรับเงินไป 500บาท ทำให้เราไม่ขับรถเร็วอีกเลย การถูกปรับเงิน ก็จัดได้ว่าเป็นการลงโทษพฤติกรรมการขับรถเร็วของเรานั่นเอง
3.       การหยุดยั้ง (Extinction) คือการยุติการให้การเสริมแรง ต่อพฤติกรรมที่เคยได้รับการเสริมแรง กระบวนการดังกล่าวจะส่งผลทำให้พฤติกรรมนั้น ลดลงหรือยุติลงในเวลาต่อมา แต่ก่อนที่จะลดลง อาจมีการเกิดการระเบิดของพฤติกรรมขึ้นได้ เช่น การที่เด็กไปที่ศูนย์การค้ากับแม่และขอให้แม่ชื้อของให้ แม่ก็ชื้อให้แทบทุกครั้ง (แม่ให้การเสริมแรงทางบวกต่อพฤติกรรมการขอให้แม่ชื้อของให้) วันหนึ่งแม่ตัดสินใจไม่ชื้อให้เนื่องจากเห็นว่าไม่เหมาะสม แสดงว่าแม่กำลังใช้การหยุดยั้ง ผลจากการใช้การหยุดยั้งจะพบว่า เด็กจะขอด้วยเสียงอันดังขึ้น และอาจระเบิดถึงขั้นดิ้นกับพื้นได้ ซึ่งเราเห็นเหตุการณ์นี้ได้บ่อยๆในศูนย์การค้า แสดงว่าเด็กถูกการหยุดยั้งนั่นเอง
ประเภทของตัวเสริมแรงทางบวก
ตัวเสริมแรงทางบวกสามารถแบ่งออกได้เป็น 5ประเภทด้วยกันคือ
1.       ตัวเสริมแรงทางสังคม (Social Reinforcer) ได้แก่คำชม คำยกย่อง การให้ข้อมูลป้อนกลับทางบวก การกอด การแตะตัว การแสดงการยอมรับ เป็นต้น
2.       ตัวเสริมแรงที่เป็นวัตถุสิ่งของ (Material Reinforcer) ได้แก่สิ่งของต่างๆ เช่น รถ บ้าน เสื้อผ้า  น้ำหอม  และรวมทั้ง อาหารและขนม เป็นต้น
3.       ตัวเสริมแรงที่เป็นกิจกรรม หรือที่รู้จักในนามของหลักการของ Premack (Premack’s Principle) เป็นการใช้กิจกรรมที่บุคคลชอบมากมาเสริมแรงกิจกรรมที่บุคคลไม่ชอบทำหรือทำน้อย เพื่อให้บุคคลนั้นทำกิจกรรมนั้นมากขึ้น เช่นการที่เด็กชอบเล่นเกมแต่ไม่ชอบทำการบ้าน  ก็สามารถเพิ่มพฤติกรรมการทำการบ้านของเด็กได้ โดยบอกให้เด็กทำการบ้านก่อนแล้วจึงค่อยเล่นเกม เป็นต้น
4.       เบี้ยอรรถกร (Tokens Economy) เป็นการใช้เบี้ย คะแนน หรือดาว เป็นตัวเสริมแรง โดยที่เบี้ย คะแนนหรือดาวนั้นสามารถนำไปแลกตัวเสริมแรง อื่นๆได้ ตัวอย่างของเบี้ยอรรถกรที่เห็นได้ชัดคือ เงิน คูปองแลกของ หรือแต้มสะสมของบัตรเครดิต ที่สามารถนำไปแลกสิ่งของต่างๆได้ตามที่ต้องการ
5.       ตัวเสริมแรงภายใน (Covert Reinforcer) ได้แก่ความภูมิใจ หรือความสุข เป็นต้น
 การชี้แนะ (Prompting)
การชี้แนะคือการจัดการกับเงื่อนไขนำนั่นเอง ทำได้โดยการให้สัญญาณ (Signs) หรือตัวชี้แนะ (Cues) เพื่อให้คนเราแสดงพฤติกรรมออกมา อย่างที่เราต้องการให้แสดงออก ซึ่งการชี้แนะสามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกันคือ
1.       การชี้แนะโดยการใช้คำพูด (Verbal prompt) เป็นการใช้คำพูดให้คนเราทำพฤติกรรมบางอย่าง เช่น บอกให้เงียบ บอกให้เข้าชั้นเรียน หรือบอกให้แบ่งปันของเล่นให้กับเพื่อน เป็นต้น
2.       การชี้แนะโดยการใช้สัญญาณ (Sign prompt) คือการใช้สัญลักษณ์ต่างให้คนเราทำตาม เช่น สัญลักษณ์ห้ามสูบบุหรี่ สัญลักษณ์ห้องน้ำ สัญญาณจราจรเป็นต้น
3.       การชี้แนะโดยการใช้ร่างกาย (Physical prompt) คือการใช้ร่างกายชี้แนะให้คนเราทำตาม เช่นการจับมือให้เด็กเขียนหนังสือ หรือจับซ้อนรับประทานอาหาร เป็นต้น
การแต่งพฤติกรรม (Shaping)
การแต่งพฤติกรรมเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมใหม่ให้กับคนเรา โดยใช้หลักการการคาดคะเนความสำเร็จตามขั้นตอน (Successive approximation) เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปทีละพฤติกรรมเพื่อนำไปสู่พฤติกรรมที่ต้องการ ส่วนวิธีดำเนินการนั้นมักจะใช้การชี้แนะร่วมกับการเสริมแรงทางบวก เช่นการฝึกการใช้โปรแกรม SPSS ก็อาจจะเริ่มจากการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การเลือกโปรแกรม การใส่ข้อมูล และการใช้เมนูในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นต้น
การแผ่ขยายสิ่งเร้า (Stimulus Generalization)
การแผ่ขยายสิ่งเร้าคือการที่คนเราสนองตอบในลักษณะเดียวกันต่อสิ่งเร้าที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ
สิ่งเร้าที่เคยเรียนรู้มาก่อน เช่น การที่นักศึกษากลัวอาจารย์ท่านหนึ่งในวิทยาลัย และต่อมากลัวอาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัย สุดท้ายกลัวที่จะไปวิทยาลัย ลักษณะดังกล่าว กล่าวได้ว่าเกิดการ
แผ่ขยายสิ่งเร้าขึ้นแล้ว แต่ถ้านักศึกษากลัวอาจารย์ท่านหนึ่งและไม่กลัวท่านอื่นๆอีก เราเรียกกระบวนการดังกล่าวว่าเกิดการเรียนรู้การแยกแยะสิ่งเร้า (Stimulus Discrimination) ชึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อกระบวนการเรียนรู้
ทฤษฏีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม (Social Cognitive Theory)
ทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของคนเราส่วนใหญ่นั้น เกิดขี้นจากการสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบในสภาพแวดล้อม (Bandura, 1977)  ตัวแบบในสภาพแวดล้อม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2ชนิดด้วยกันคือ ตัวแบบที่เป็นชีวิตจริง (Live Model) เป็นตัวแบบที่มีคนเราเผชิญในชีวิตจริง เช่น พ่อ แม่ ญาติพี่น้อง ครู เพื่อน เป็นต้น ตัวแบบอีกชนิดหนึ่งคือ ตัวแบบสัญลักษณ์ (Symbolic Model) เป็นตัวแบบที่ทีเราเห็นโดยผ่านสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพยนตร์ ทีวี หนังสือพิมพ์ การ์ตูน นิยาย เป็นต้น ตัวแบบทั้ง2ชนิดนี้มีผลต่อการเรียนรู้ของคนเราไม่แตกต่างกัน หากแต่ตัวแบบสัญลักษณ์ มีผลในวงกว้างกว่าเท่านั้น
การนำเอาแนวความคิดของทฤษฎีการเรียนรู้ไปพัฒนาพฤติกรรม
        เนื่องจากการเรียนรู้นั้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมภายในและพฤติกรรมภายนอก การนำเอาแนวคิดการเรียนรู้ไปใช้พัฒนาพฤติกรรมของคนเรา สามารถที่จะเริ่มจากการพัฒนาพฤติกรรมภายในไปสู่พฤติกรรมภายนอก หรือจากพฤติกรรมภายนอกไปสู่พฤติกรรมภายในก็ได้ ทั้งนี้เนื่องจากพฤติกรรมทั้งสองประเภทนี้มีผลซึ่งกันและกันนั่นเอง แต่ในกระบวนการพัฒนาตนนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรจะเริ่มต้นจากพฤติกรรมภายในไปสู่พฤติกรรมภายนอก เพราะว่าคนเรานั้นควรจะมีความตระหนักหรือต้องการที่จะพัฒนาตัวเองเสียก่อน จึงจะทำให้กระบวนการพัฒนาตนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 ดังนั้นขั้นตอนในการพัฒนาตนนั้นจึงควรเริ่มจากการ  คิดดี  พูดดี และทำดี  ซึ่งถ้าทุกคนทำได้ก็จะทำให้สังคมมีความสงบ และความสุขมากขึ้น
การคิดดี หรือคิดในทางบวกนั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่นักศึกษาทุกคนควรจะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกในการพัฒนา
เทคนิคการหยุดความคิด (Thought stopping)
เทคนิคการหยุดความคิด เป็นเทคนิคที่เหมือนกับการลงโทษ นั้นคือเมื่อคนเรามีความคิดทางลบเกิดขึ้น ก็จะตระโกนในใจตัวเองว่า หยุด ซึ่งการทำเช่นนั้นจะทำให้ความคิดในขณะนั้นหยุดลงและเมื่อความคิดในขณะนั้นหยุดลงแล้วเราก็จะต้องสร้างความคิดใหม่เข้าไปทดแทน หลักการดังกล่าวดูเหมือนว่าจะทำได้ง่าย แต่ขั้นตอนในการดำเนินการนั้นต้องอาศัยความตั้งใจจริงและความอดทนพอสมควร จึงจะสามารถทำให้เราสามารถหยุดความคิดทางลบและพัฒนาความคิดทางบวกขึ้นมาได้
การคิดในทางบวก (Positive thinking) หรือ การพูดกับตัวเองในทางบวก (Positive self-talk)
หลังจากที่นักศึกษาได้ฝึกหยุดความคิดของตนเองแล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ควรฝึกคือ การคิดในทางบวก หรือการพูดกับตนเองในทางบวก เพราะดังที่กล่าวไว้ข้างตนแล้วว่าการกระทำของคน เรานั้นเป็นผลพวงจากความคิดและความเชื่อของตนเอง นักศึกษาต้องมีความเชื่อก่อนว่า เราสามารถกำหนดอนาคตของตนเองได้ ซึ่งการที่จะกำหนดอนาคตของตนเองได้นั้น เราต้องแน่ใจก่อนว่าเราสามารถกำหนดความคิดของตนเองได้ ซึ่งถ้าเราคิดว่าทำไม่ได้เราก็จะทำไม่ได้ ถ้าเราเชื่อหรือคิดว่าทำได้เราจะประสบผลสำเร็จอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ และอีก 50 เปอร์เซ็นต์อยู่ที่การกระทำของตัวเราเอง นักจิตวิทยามีความเชื่อว่าสิ่งที่จะทำร้ายคนเราได้มากที่สุดคือความคิดทางลบของคนเรานั่นเอง และทางการแพทย์ก็เชื่ออีกด้วยว่าร้อยละ  75 ของความเจ็บป่วยของคนเราเป็นผลมาจากความคิดทางลบของคนเรานั่นเอง
��$] � � �߱ �_� ��ลป้อนกลับ เมื่อลองทำตามพฤติกรรมของตัวแบบ  อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับความสามารถเดิมที่ผู้สังเกตมีอยู่
เช่น การที่ผู้ที่มีพื้นฐานทางด้านการเล่นเทนนิสเมื่อดูนักเทนนิสระดับโลกแข่งกันก็จะสามารถจดจำท่าต่างๆได้ง่าย และสามารถทำตามได้ง่ายกว่า  ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านการเล่นเทนนิสมาก่อนเลย
       4. กระบวนการแรงจูงใจ (Motivation Process) เป็นกระบวนการสุดท้ายที่จะทำให้ผู้สังเกตตัดสินใจจะทำตามพฤติกรรมของตัวแบบ นั่นคือผู้สังเกตจะพิจารณาดูว่าในสภาพการณ์ใด ที่แสดงพฤติกรรมตามตัวแบบแล้วได้รับการเสริมแรง การที่คาดว่าจะได้รับการเสริมแรงนี่เองทำให้เป็นแรงจูงใจที่ทำให้ผู้สังเกต แสดงพฤติกรรมตามตัวแบบที่ตนเองลอกแบบมา 

นอกจากนี้ Bandura (1977) ยังได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับ การรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-Efficacy) โดยที่เขาเชื่อว่าทุกคนจะมีการรับรู้ความสามรถของตนเฉพาะอย่าง นั่นคือคนบางคนจะรับรู้ว่าตนเองมีความสามรถในเรื่องการพูดแต่อาจจะรับรู้ว่าตนเองไม่มีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเองนั้นมีผลต่อการกระทำในเรื่องนั้นๆ นั่นคือถ้าคนเรามีการรับรู้ความสามารถของตนสูงในด้านใดจะทำให้เขาสามารถแสดงออก ในสิ่งนั้นๆได้เต็มความสามารถของเขานั่นเอง การรับรู้ความสามรถของตนเองจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการแสดงออกของบุคคลในชีวิตประจำวัน เพราะปัจจัยหนึ่งของความสำเร็จในการใช้ชีวิตของคนเราก็คือการรับรู้ความสามารถของตนเองนั่นเอง  
               

การนำเอาแนวความคิดของทฤษฎีการเรียนรู้ไปพัฒนาพฤติกรรม

เนื่องจากการเรียนรู้นั้นก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งพฤติกรรมภายในและพฤติกรรมภายนอก การนำเอาแนวคิดการเรียนรู้ไปใช้พัฒนาพฤติกรรมของคนเรา สามารถที่จะเริ่มจากการพัฒนาพฤติกรรมภายในไปสู่พฤติกรรมภายนอก หรือจากพฤติกรรมภายนอกไปสู่พฤติกรรมภายในก็ได้ ทั้งนี้เนื่องจากพฤติกรรมทั้งสองประเภทนี้มีผลซึ่งกันและกันนั่นเอง แต่ในกระบวนการพัฒนาตนนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่าควรจะเริ่มต้นจากพฤติกรรมภายในไปสู่พฤติกรรมภายนอก เพราะว่าคนเรานั้นควรจะมีความตระหนักหรือต้องการที่จะพัฒนาตัวเองเสียก่อน จึงจะทำให้กระบวนการพัฒนาตนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เอกสารประกอบการเรียนวิชา การพูดในที่ชุมชน...(การบ้าน วันอังคาร ที่ 6 กันยายน พ.ศ.2554)

เอกสารประกอบการเรียนวิชา การพูดในที่ชุมชน
ความสำคัญของการพูด
                        การพูดเป็นการสื่อสารที่สะดวก  รวดเร็ว  ประหยัด  และมีประสิทธิภาพสูง ทุกคน ทุกอาชีพ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้การพูดด้วยกันทั้งนั้น
                        ในทางพุทธศาสนา ได้จัดการพูดดีไว้เป็นมงคลชีวิต มงคลหนึ่งใน 38 มงคล คือ มงคลที่ 10
  สุภาสิตา  อยา  วาจาหมาถึง การมีวาจาสุภาษิต เป็นมงคลชีวิต
วัตถุประสงค์ในการพูด
1.      เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร
2.      เพื่อสร้างความเข้าใจ
3.      เพื่อให้เกิดความเชื่อ เห็นคล้อยตาม
4.      เพื่อให้กระทำตามที่ต้องการ
5.      เพื่อบรรยากาศที่ดี
โอกาสในการพูด
1.      การพูดต่อที่ชุมชน
2.      การพูดปราศรัยในงานต่างๆ
3.      การสอน การบรรยาย
4.      การนำเสนอ
5.      การอภิปราย ปาฐกถา โต้วาที
6.      การพูดจูงใจ
7.      การประชุม
 แบบในการพูด
-          ท่องจำ
-          อ่านจากร่าง
-          พูดตามหัวข้อ
-          พูดโดยไม่เตรียมตัว (พูดในสถานการณ์เฉพาะหน้า)
 องค์ประกอบในการพูดให้จับใจผู้ฟัง
            องค์ประกอบที่สำคัญในการพูดให้จับใจผู้ฟัง มี 3 ส่วน คือ
1.      ผู้พูด
2.      เนื้อหา
3.      ผู้ฟัง
บุคลิกลักษณะที่ดีของผู้พูด
            ลักษณะที่ดี 10 ประการของผู้พูด
1.      รูปร่างหน้าตา
2.      การแต่งกาย

3.      น้ำเสียง
4.      สีหน้า
5.      สายตา
6.      ท่าทาง
7.      ความเชื่อมั่น
8.      ความกระตือรือร้น
9.      อารมณ์ขัน
10.  ปฏิภาณไหวพริบ

การเตรียมตัวในการพูด
                        ปัจจัยสำคัญของนักพูดที่ประสบความสำเร็จก็คือ    การเตรียมตัว  การเตรียมตัวเป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ผู้พูดพึงตระหนักและเข้าใจอย่างถ่องแท้  มักจะเคยเห็นกันอยู่เสมอว่านักพูดบางคนเตรียมตัวมาแล้ว แต่เมื่อขึ้นเวทีพูด ก็ยังเกิดความผิดพลาดและความล้มเหลวอยู่ดี ที่เป็นเช่นนี้เพราะการเตรียมนั้นยังไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้อง
                    
ในการเตรียมการพูด ขอให้พิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
1.      ผู้พูดเป็นใคร ?
2.      พูดกับใคร ?
3.      พูดอะไร ?
4.      พูดเมื่อไร ?
5.      พูดที่ไหน ?
6.      พูดอย่างไร ?
การสร้างโครงเรื่อง
        โครงเรื่องที่ดีในการพูด ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ

1.      คำนำหรือคำขึ้นต้น
2.      เนื้อเรื่อง
3.      สรุปจบ
ทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ หากทำได้อย่างเหมาะสม จะทำให้คนสนใจได้อย่างแน่นอน
การวิเคราะห์ผู้ฟัง
            ความสำเร็จของผู้พูด ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้ฟัง  ดังนั้น ผู้พูดจึงต้องทำความรู้จักผู้ฟังให้มากที่สุด เพื่อนำมาวางแนวทางการพูด ให้ตรงกับความสนใจของผู้ฟัง และทำให้ผู้ฟังพอใจ ซึ่งคล้ายกับการวางแผนการรบที่ซุนวูได้เคยสอนไว้ว่า1.      เพศ
2.      วัย หรือ อายุ
3.      การศึกษา
4.      อาชีพ
5.      ทัศนคติและความเชื่อ
6.      ความสนใจพิเศษของผู้ฟัง
การใช้ถ้อยคำภาษา
                        จุดมิ่งหมายที่สำคัญต่อการพูด คือ ความเข้าใจของผู้ฟัง แต่บางครั้งการใช้ถ้อยคำภาษาที่ผิดความหมาย หรือไม่เหมาะสม ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ไม่สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายได้ เนื่องจากผู้ฟังไม่เข้าใจ ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญต่อถ้อยคำภาษาในการพูด ดังนี้
1.      ใช้ถ้อยคำที่เข้าใจง่าย
2.      ออกเสียงอย่างถูกต้อง
3.      หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์สแลง
4.      หลีกเลี่ยงการใช้คำย่อ
5.      ใช้คำพูดที่กระทัดรัด กระชับ ได้เนื้อหา โดยไม่ต้องอ้อมค้อม หรือใช้คำอย่างฟุ่มเฟือย
 การใช้สื่อประกอบการพูด
การใช้สื่ออย่างมีประสิทธิภาพ
           ในการใช้สื่อขอให้พิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
1.      วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
2.      พิจารณาข้อจำกัดต่างๆ
3.      จัดเตรียมอย่างเหมาะสม
4.      ตรวจสอบความพร้อมและความถูกต้อง
5.      ฝึกซ้อมการใช้สื่อ
การทดสอบความพร้อม
                        ขั้นตอนการทอดสอบความพร้อมและความมั่นใจนี้ จะช่วยให้ผู้พูดมีความมั่นใจในการพูดและพูดได้ตรงความตั้งใจมากที่สุด  โดยทั่วไปมักพบว่าการพูดมีอุปสรรคที่สำคัญ คือ สิ่งที่เตรียมมาไม่ได้พูด แต่สิ่งที่พูดไม่ได้เตรียมหรือ พูดไม่ครบเนื้อหาที่เตรียมไว้  ปัญหานี้ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ผู้พูดที่ดีพึงระมัดระวังไม่ให้ปัญหานี้เกิดขึ้นโดยวิธีการดังนี้
1.      ฝึกซ้อมพูด
2.      แก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่ยังบกพร่อง
บทสรุป
            ทุกคนสามารถพูดอย่างจับใจผู้ฟังได้  เพียงแต่ต้องตระหนักถึงความสำคัญของการพูดเสียก่อน มีการตระเตรียมให้เพียงพอ  รวมทั้งฝึกฝนจนชำนาญ และที่สำคัญซึ่งจะลืมเสียมิได้ คือ ต้องคิดก่อนพูด เหมือนดังที่ท่านสุนทรภู่ได้สอนไว้ว่า
                         เป็นมนุษย์สุดนิยมเพียงลมปาก     จะได้ยากหรือโหยหิวเพราะชิวหา
แม้นพูดดีมีคนเขาเมตตา                            จะพูดจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ

เอกสารประกอบการเรียนวิชา เทคโนโลยีการศึกษา...(การบ้าน วันอังคาร ที่ 6 กันยายน พ.ศ.2554)

เอกสารประกอบการเรียนวิชา เทคโนโลยีการศึกษา
แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา
            ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศในการขจัดข้อจำกัดของกาลเวลา และระยะทาง ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลเกิดได้ในทุกเวลา และทุกสถานที่ ซึ่งจากวิวัฒนาการนี้เองได้ก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา
            เทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการนี้ เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งจัดเป็นระบบการเรียนการสอนทางไกลแบบสองทาง
ระบบโทรประชุมทางไกล หมายถึง การประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เป็นบริการที่ให้ทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกัน โยผู้ใช้ทั้งต้นทางและปลายทางจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ ซึ่งประกอบด้วย กล้องถ่ายภาพ จอภาพ อุปกรณ์แปลงสัญญาณ และชุดควบคุมการประชุมระหว่างจุดสองสุด จะต้องใช้อุปกรณ์สองชุดเชื่อมต่อกัน ส่วนการประชุมพร้อม ๆ กันนั้นจะต้องใช้อุปกรณ์
Teleconference เท่าจำนวนจุดที่ต้องการประชุมและจะต้องใช้อุปกรณ์ควบคุมหลายจุด (Multi-Point Control Unit : MCU) ช่วยการตัดภาพระหว่างจุดแต่ละจุด อุปกรณ์นี้สามารถเชื่อมสัญญาณเข้าด้วยกันได้ โดยทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องรับและเครื่องส่งภายในเครื่องเดียวกัน ส่งสัญญาณผ่านเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงหรือผ่านระบบโครงข่าย ISDN
              รูปแบบการเรียนการสอน
1. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกลชนิดภาพและเสียง รวมถึงเอกสารต่าง ๆ เพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
2. แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียกว่า
Online University หรือ Virtual University เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่ายในรูปเว็บเพจ มีการสร้างกระดานถาม-ตอบ อิเล็กทรอนิกส์ (Web Board)
3. การเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ตและเว็บเพจ (
Online Learning, Internet Web Base Education)  เป็นการนำเสนอเนื้อหาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน ให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้เรียนต้องควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือกเวลา สถานที่ในการเรียนรู้
4. โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส (
Asynchronous Learning Network : ALN) เป็นการเสียนการสอนที่ต้องการติดตามผลระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การทดสอบบทเรียน เป็นตัวโต้ตอบ

            ลักษณะของการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อหาสำหรับการเรียนการสอนผ่าน E-Learning ประกอบด้วย
          E-Book การสร้างหนังสือหรือเอกสารในรูปแบบสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้ประโยชน์กับระบบการเรียนการสอนบนเครือข่าย
            Virtual Lab การสร้างห้องปฏิบัติการจำลองที่ผู้เรียนสามารถเข้ามาทำการทดลอง การทดลองอาจใช้วิธีการทาง simulation หรืออาจให้นักเรียนทดลองจริงตามคำแนะนำที่ให้
            Video และการกระจายแบบ Real/audio/video เป็นการสร้างเนื้อหาในรูปแบบวีดีโอ หรือบันทึกเป็นเสียงเพื่อเรียกผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์
            Virtual Classroom เป็นการสร้างห้องเรียนจำลองโดยใช้กระดานข่าวบนอินเตอร์เน็ตกระดานคุยหรือแม้แต่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประโยชน์การเรียนรู้ผ่านเครือข่าย
            Web base training การสร้างโฮมเพจหรือเว็บเพจเพื่อประโยชน์การเรียนการสอน
            E-library การสร้างห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการบนเครือข่ายได้
            สรุปได้ว่าการเรียนรู้โดยผ่านเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับโลกยุคปัจจุบัน และ หลักของ E-Learning ก็คือ ระบบการเรียนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเผยแพร่ข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ดังนั้น E-Learning จึงเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่สังคมยุค IT ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้ เพื่อการศึกษาในหลากหลายรูปแบบ E-Learning จึงถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อม ทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมที่จะเข้าปรับตัวให้ทันต่อโลกยุคไร้พรมแดน และโลกในยุคต่อ ๆ ไปที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำลงชีวิตของสังคมมนุษย์ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
            แนวโน้มการศึกษาทางไกล
สำหรับข้อมูลในส่วนของแนวโน้มของการศึกษาทางไกล ก่อนที่จะกล่าวถึงแนวโน้มที่ได้จากการวิเคราะห์ และสังเคราะห์จากข้อมูลที่ผ่านมาในอดีตและในปัจจุบันแล้ว แหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญในอ้างอิง เพื่อให้แนวโน้มที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้านั้นมีความเชื่อถือได้ ผู้ศึกษาจึงต้องกล่าวถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษา
            จากการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวโน้มของการศึกษาทางไกลทำให้สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านการศึกษาทางไกล ดังต่อไปนี้
            1. แนวโน้มด้านวิทยุเพื่อการศึกษา
            2. แนวโน้มทางด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
            3. แนวโน้มทางด้านการประชุมทางไกลเพื่อการศึกษา
       
            แนวโน้มของรูปแบบการจัดการศึกษา จะมีลักษณะดังต่อไปนี้ (สุภาณี เส็งศรี, 2543)
            1. จัดการเรียนการสอนตามความพร้อมแบบไม่จำกัดเวลา สถานที่ โดยเน้นปริมาณแต่คำนึงถึงคุณภาพเพื่อมาตรฐานการศึกษา
            2. ปฏิรูปการเรียนรู้โดยมุ่งจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
            3. มุ่งพัฒนา จัดหา และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในกระบวนการเรียนการสอนทางไกล เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งวิทยาการอย่างอิสระ
            4. ลดข้อจำกัดทางการศึกษาโดยเฉพาะมุ่งเน้นความเท่าเทียมทางการศึกษาในทุกชุมชนและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งลดปัญหาการขาดผู้สอนซึ่งมีความรู้ความสามารถ
            5. เน้นการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และรับผิดชอบต่อสังคม
            6. สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร/สถาบันต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนวิชาการทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ
             แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านการบริหารและการจัดการ การศึกษาทางไกลถือได้ว่าเป็นกระบวนการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต จำเป็นต้องมีการจัดระบบการจัดการที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง รัฐควรเน้นในเรื่องการประสานงานและการระดมกำลังทั้งคนและความคิด มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะในปัจจุบันการบริหารและการจัดการยังคงเน้นรูปแบบรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ศูนย์กลางจะเป็นตัวควบคุมและสั่งการไปยังส่วนภูมิภาค ยังไม่มีการกระจายอำนาจที่ดีพอ การประสานงานต่าง ๆ ยังคงเกิดปัญหา อีกทั้งการจัดการศึกษาก็ไม่สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น ดังนั้นรัฐจึงควรมีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและภูมิภาค ระดมกำลังทั้งคนและความคิดเพื่อนำมาใช้ในการศึกษา มีการใช้ทรัพยากรที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งการบริหารงานแบบนี้จะทำให้ท้องถิ่นและภูมิภาคได้มีโอกาสและมีบทบาทในการกำหนดทิศทางในการบริหารและการจัดการทางการศึกษา ซึ่งการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นและภูมิภาคจะสร้างผลดีกว่าการบริหารและการจัดการแบบก่อนที่เน้นศูนย์กลางเป็นหลัก
             แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านงบประมาณ ควรจะมีการเพิ่มงบประมาณในการผลิตวิจัย พัฒนาสื่อและบุคลากร การติดตามผลและการประเมินผล ควรมีการตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบในการจัดสรรงบประมาณ งบประมาณของการศึกษาทางไกลในอนาคตน่าจะได้รับงบประมาณมาจากภาครัฐและภาคเอกชน จึงควรมีการจัดสรรงบประมาณให้มีความเหมาะสม ถูกต้องและยุติธรรมเพื่อที่จะสามารถนำงบประมาณเหล่านั้น ไปพัฒนาการศึกษาทางไกลให้มีความเหมาะสมและให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
             แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านประเภทของสื่อ
            สื่อคอมพิวเตอร์ ระบบ Internet ดาวเทียม และโทรทัศน์ น่าจะเป็นสื่อที่ใช้ในการศึกษาทางไกลมากที่สุด ซึ่งสื่อเหล่านี้จะเข้ามามีบทบาทแทนที่สื่อเก่า ๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง เป็นต้น
            แนวโน้มการศึกษาทางไกลในด้านบุคลากร ในการศึกษาทางไกล จำเป็นต้องมีบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการศึกษาทางไกล ซึ่งได้แก่
            นักเทคโนโลยี
          นักเทคโนโลยีถือได้ว่ามีบทบาทอย่างมากในการจัดการศึกษาทางไกล เพราะนักเทคโนโลยีจะอยู่ในฐานะ ผู้ผลิต ผู้พัฒนา ผู้ใช้และผู้ให้บริการ
            การศึกษาในปัจจุบันและในอนาคต จะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีโอกาสได้เรียน รัฐก็ให้ความสำคัญกับการศึกษา เพราะ คนเราสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต นักเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาทางไกล และจะมีบทบาทสำคัญมากในอนาคต เพราะ นักเทคโนโลยีอยู่ในฐานะ ผู้ผลิต สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนทางไกล ต้องมีการผลิตสื่อที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียน สื่อการเรียนการสอนที่ดีเรียนแล้วเกิดประสิทธิภาพในการเรียนมากยิ่งขึ้น การเรียนก็จะประสบความสำเร็จ ดังนั้นนักเทคโนโลยีต้องมีการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทางการศึกษา เรื่องเทคโนโลยี เพื่อนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาสร้าง พัฒนาและปรับปรุง สื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เมื่อผู้เรียนนำไปใช้ในการศึกษาแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
            สังคมในปัจจุบัน ได้กลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ การจัดการฝึกอบรม ก็ถือได้ว่า เป็นหน้าที่ของนักเทคโนโลยีเพราะนักเทคโนโลยีจะอยู่ในฐานะ ผู้ให้บริการ เพราะในการศึกษาทางไกล จำเป็นต้องมีการจัดการฝึกอบรมให้กับผู้สอน เพราะผู้สอนจำเป็นต้องมีการเรียนรู้เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอน เช่น การเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น เมื่อผู้สอนได้รับการฝึกอบรมไปแล้ว ก็จะสามารถรู้วิธีการใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในสอน และจะทำให้การเรียนการสอนทางไกลเกิดประสิทธิภาพตามไปด้วย
             ผู้สอนในการศึกษาทางไกล
            ครูหรือผู้สอนทางไกล มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากขึ้นในอนาคต เพราะการศึกษาทางไกลได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษาและกำลังเป็นที่ยอมรับ เช่น การจัดการศึกษาทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ก็ถือได้ว่าเป็นการจัดการศึกษาทางไกลและเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไปและในอนาคตจะมีการขาย พัฒนา การศึกษาทางไกลมากขึ้นไปอีก ดังนั้นครูหรือผู้สอนจึงนับความมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการศึกษาไกล ต้องมีการเตรียมการเรียนการสอนที่ดีเพื่อที่จะสามารถสอนผู้สอนให้มีความเข้าใจในบทเรียนนั้น ๆ และยังต้องมีการศึกษาและติดตามเทคโนโลยีอยู่เสมอเพื่อที่จะสามารถนำเทคโนโลยีมาปรับปรุงและนำมาใช้พัฒนาการศึกษาทางไกลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งแนวโน้มของระบบอินเตอร์เน็ตกำลังเข้ามามีบทบาทในการศึกษาทางไกลเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการสืบค้าหาข้อมูลที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว มีความสะดวกสบายในการใช้งาน หรือจะใช้ E-Mail เป็นเครื่องมือในการติดต่อระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนได้ ครูหรือผู้สอนอาจใช้ประโยชน์จากระบบอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการศึกษาทางไกล อาจจะเป็นการสร้าง Homepage ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน ถ้าหากผู้เรียนเกิดความไม่เข้าใจในการเรียนการสอน ผู้เรียนสามารถเข้ามาศึกษาเนื้อหาวิชาที่เรียนไปได้ตลอดเวลา หรืออาจจะมีการสอบถามเรื่องที่ไม่เข้าใจกับผู้สอนได้โดยทาง E-Mail หรือทาง Web-Board จะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาวิชาที่เรียนมากยิ่งขึ้น
            ในอนาคตระบบอินเตอร์เน็ตจะมีบทบาทในการจัดการศึกษาเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีจะมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น การติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ง่าย ปัจจุบันผู้สอนสามารถสอนหนังสือผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งก็คือ การศึกษาทางไกล ทำให้เป็นการกระจายความรู้ไปสู่ชนบท ภูมีภาคต่าง ๆ ให้มีความเท่าเทียมกันทางการศึกษา ไม่ใช่มีการกระจุกตัวอยู่แต่ในส่วนกลาง จากความคิดของพ่อแม่ที่ว่า ถ้าอยากให้ลูกเรียนหนังสือเก่ง ๆ ต้องส่งเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ความคิดเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไป เพราะการศึกษาทางไกลจะทำให้ทุกคนสามารถเรียนได้เท่าเทียมกันทั้งหมด แต่การที่ผู้เรียนจะเรียนได้ดีหรือไม่ดีนั้น ต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนเองว่าให้ความสนใจกับการศึกษามากน้อยแค่ไหน
การสอนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในปัจจุบันก็ถือได้ว่าดีในระดับหนึ่ง อาจจะมีการล่าช้าหรือกระตุกบ้างเป็นบางครั้งเพราะอาจเกิดจากการรีเลย์ของระบบ แต่ในอนาคตระบบอินเตอร์เน็ตคงได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปอีก อาจทำให้การส่งข้อมูลข่าวสารทำได้อย่างรวดเร็ว ฉับไว ไม่เกิดการผิดพลาดก็เป็นได้ ทำให้การศึกษาทางไกลมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น
            อีกทั้งรัฐก็มีการสนับสนุนการศึกษามากยิ่งขึ้น ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นได้จากการออก พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และในอนาคตรัฐคงมีการส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้น เพราะการศึกษาถือได้ว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะทำให้คนมีความรู้ และถ้าคนเรามีความรู้ก็จะสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิต และประเทศชาติต่อไปในอนาคต